วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาตร์ชาติไทย สมัยสุโขทัย




ดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันปรากฎชื่อมาเนิ่นนานจากคำเรียกขานของชาว อินเดียและชาวตะวันตกว่า สุวรรณภูมิ ดินแดนแห่งทองและความมั่งคั่ง สำหรับ คนไทยทั่วปไแล้วเมื่อตั้งคำถามว่าใครอยู่ที่สุวรรณภูมิมาก่อน และคนไทยมา จากไหนจึงมาตั้งรกรากอยู่ที่สุวรรณภูมินี้ได้ เรามักนึกถึงผู้คนที่สร้างบ้านแปลง เมืองขึ้นมาในยุคสุโขทัยเป็นอันดับแรก และเราก็มักลืมนึกถีงผู้คนที่อพยพลงมา จากทางเทือกเขาอันไต ผานทะเลทรายโกบีอันร้อนแรงและเหน็บหนาวอย่าง ที่สุดในฤดูหนาว ผ่านลงมาถึงน่านเจ้า หยุดพักสร้างอาณาจักรขึ้นที่นั่น แต่ก็ต้อง ถูกตีจนถอยร่นลงมาตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นและเราก็อาจนึกถึงบทเพลงปลุกใจ ที่เคยร้องกันว่า...เราถอยไปไม่ได้อีกแล้ว ผืนดินสิ้นแนวทะเลกว้างใหญ่... แต่ปัจจุบันความคิดดังกล่าวนี้ กำลังถูกสั่นคลอนอย่างหนัจากวงวิชาการว่า คน ไทยมิได้อพยพมาจากเทือกกเขาอันไต และราชธานีสุโขทัยก็มิได้เป็นอาณาจักร อิสระแห่งแรกของคนไทย เพราะก่อนหน้าที่สุโขทัยจะเกิดขึ้นนั้นมีอาณาจักรอื่น ตั้งเป็นแว่นแคว้นขึ้นมาก่อนแล้ว ความพยายามที่จะค้นคว้าคำตอบว่าคนไทยมาจากไหน ทำให้ช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมามีการตื่นตัวถกเถียงและเสนอความคิดเกี่ยว กับถิ่นกำเนิดของคนไทยอย่างกว้างขวาง กลุ่มหนึ่งเชื่อว่าไทยมีต้นกำเนิดอยู่ บริเวณมณฑลเสฉวนแล้สค่อยๆออพยพลงสู่ยูนานและแหลมอินโดจีนเพราะถูกรุก ราน ความเชื่อนี้สอดคล้องกับกลุ่มที่เชื่อว่าคนไทยอพยพลงมาจากเทือกเขาอัลไต ทำให้เกิดเส้นทางอพยพอัลไต-เสฉวน-น่านเจ้า และสุโขทัยขึ้น อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณทางตอนใต้ของจีน และทางตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าถิ่นเดิมของคนไทยอยู่ยริเวณเนื้อที่ประเทศไทยปัจจุบัน กลุ่มสุดท้ายเชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยอาจจะอยู่ในคาบสมุทรมาลายู เนื่องจาก พบว่าความถี่ของยีนและหมู่เลือดของคนไทยคล้ายคลึงกับชาวชวามากกว่าจีน ถึงวันนี้ทฤษฎีอัลไต-เสฉวน-น่านเจ้าจะดูน่าเชื่อถือน้อยที่สุด เพราะเหตุที่ว่าเทือก เขาอัลไตอยู่ในเขตหนาวจัดไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัย ทะเลทรายโกบีก็ร้อนและ หนาวจัดเกินกว่าจะอพยพผ่านเส้นทางทุรกันดานลงมาได้ รวมทั้งหลักฐานหลาย อย่างที่ชี้ว่าออาณาจักรน่านเจ้ามิได้เป็นหลักฐานเดิมของกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไท ขณะที่ทฤษฎีอัลไตเป็นไปได้น้อยที่สุดแนวคิดที่ว่าคนไทยอยู่ที่นี่รวมทั้งกระจายตัวอยู่ เป็นวงกว้างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับมีความเป็นไปได้มากที่สุด หลักฐาน สำคัญที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ก็คือการค้นพบแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีใน ปีพ.ศ. 2510 โดยขุดค้นหลายชั้นดิน พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณปนอยู่กับโลหะ สำริดในชั้นดินแรก ประมาณว่ามีอายุเก่าแก่ถึง 6000 ปี ชั้นดินถัดมาพบโครงกระ ดูกมนุษย์ฝังปนกับเครื่องปั้นดินเผาลูกปัดต่าง ประมาณว่ามีอายุระหว่าง 2000-4000 ปี และในชั้นดินส่วนบนสุดก็ยังพบโบราณวัตถุมีลูกปัดหินลูกปัดแก้วสี รวมทั้งเสมาหิน สมัยทวารวดีและลพบุรีปะปนอยู่ด้วยหลักฐานต่างๆที่ขุดพบนี้แสดงให้เห็นว่าภาคอีสาน ของไทยมีมนุษย์อยู่เป็นเวลานานมาแล้ว และยังอยู่อาศัยหลายยุคอย่างต่อเนื่องอีกด้วย แต่เราก็มิอาจสรุปได้ว่ากลุ่มคนที่ใช้วัฒนธรรม บ้านเชียงเหล่านี้คือคนไทย "พวกเขา" อาจเป็นคนกลุ่มเดียวกันที่พัฒนาต่อเนื่องกันมา หรืออาจเป็นคนต่างกลุ่มที่เข้ามาอยู่ อาศัยในเวลาที่ต่างกันก็ได้ อีกทั้งคนกลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับคนไทยในปัจจุบันหรือไม่? ก็ยังไม่มีใครหาข้อสรุปได้ หากในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาความตื่นตัวที่จะค้นหาคำตอบว่าคนไทยมาจาก ไหนกันแน่? ทำให้นักวิชาการออกเดินทางไปในที่ต่างๆ และได้ค้นพบหลักฐานข้อมูล ใหม่ๆมากมาย ที่ล้วนแต่สนับสนุนทฤษฎีคนไทยอยู่ที่นี่และกระจายตัวอยู่ในแถบอุษาคเน นี้เองมิได้อพยพมาจากดินแดนอันไกลโพ้นที่ใดเลย ราวปีพ.ศ.800-1400 ความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนต่างๆและการติดต่อคค้าขายระหว่างกันได้ทำให้เกิดแว่น แคว้นต่างขึ้นตามเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ หลายร้อยปีก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยจะเกิดขึ้นดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันประกอบ ไปด้วยแว่นแคว้นใหญ่น้อยจำนวนหนึ่ง ทางใต้มีแคว้นศรีวิชัยซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี พ.ศ. 1500 มีบทบาทสำคัญในฐานะเส้นทาง การค้าทางทะเลระหว่างจีนกับอินเดีย แต่ในทุกวันนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุปว่าศูนย์กลางของ อาณาจักรศรีวิชัยตั้งอยู่ที่ใดแน่ หลังศรีวิชัยเสื่อมลง ตามพรลิงค์ซึ่งอยู่บริเวณนครศรีธรรมราชได้ก้าวเข้ามามีบทบาท ควคุมเส้นทางการค้าแทน ตามพรลิงค์รุ่งเรืองอยู่ในช่วงพ.ศ.1500-1800 เฟื่องฟู ทั้งทางการค้าและวัฒนธรรมประเพณี จนสมัยพ่อขุนรามคำแหงถึงกับอาราธนาพระสงฆ์ จากที่นี่ขึ้ไปตั้งสังฆมณฑลที่สุโขทัย ทางเหนือ ตั้งแต่ราวพ.ศ.1000 เป็นต้นมา มีการรวมตัวกันเป็นแคว้นหริภุญชัย โยนก- เชียงแสนและเงินยางเชียงแสนซึ่งต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นล้านนารุ่งเรืองร่วมสมัยกับ สุโขทัยและอยุธยา ภาคกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน มีแว่นแคว้นทวารวดีที่เติบโตขึ้นมาในช่วง พ.ศ.1100-1500 มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครปฐมหรือนครชัยศรีเมืองต่างๆที่เข้ามารวม เป็นแคว้นได้แก่ เมืองอู่ทอง(สุพรรณบุรี) เมืองคูบัว(ราชบุรี) เมืองจันเสน(นครสวรรค์) เมืองฟ้าแดดสงยาง(กาฬสินธุ์) และเมืองศรีเทพ(เพชบูรณ์) ทวารวดีสิ้นสุดการเป็นรัฐ ลงด้วยเหตุผล 2 อย่างคือ การเปลี่ยนทางเดินของลำน้ำและอิทธิพลขอมที่แผ่ขยายเข้ามา ตั้งเมืองละโว้ขึ้นเป็นศูนย์กลางแทน ละโว้รุ่งเรืองขึ้นมาหลังปี พ.ศ.1500 แทนที่รัฐเดิมของทวารวดีอย่างนครชัยศรีและศรี เทพ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำลพบุรีเมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงในพุทธศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการเกิดของสุโขทัย ละโว้ก็ลดบทบาทลงไปด้วย แต่ก่มิได้เสื่อมสลายไปทีเดียว หากยังคงรักษารูปแบบความเจริญทางด้านศิลปวิทยาการไว้ และพัฒนาต่อเนื่องขึ้นมา เป็นกรุงศรีอยุธยาในภายหลัง ชื่อของเมืองที่แปลว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข" และคำกล่าวที่รู้จัก กันดีว่า...เมืองสุโขทัยนี้ดีในน้ำมีปลาในนามีข้าว ทำให้ภาพของสุโขทัยเป็นดั่งเมือง แห่งความฝัน นครแห่งความสุขและอดีตที่มิอาจหวนคืน สุโขทัยถือกำเนิดขึ้นอย่างเรียบง่ายจากการพัฒนาของหมู่บ้านเล็กๆ ที่เติบโตขึ้นเป็นเมือง กระจายตัวอยู่ตามแนวลุ่มน้ำยมและน่านครั้นก่อน พ.ศ. 1700 การคมนาคมและการค้าต่างๆได้ขยายตัวมากขึ้นเมืองที่อยู่ ตามลุ่มน้ำยมและน่านที่เป็นเส้นทางผ่านการค้าระหว่างรัฐต่างๆก็เริ่มรวม ตัวกันมากขึ้น สุโขทัยเริ่มมีฐานะเป็นแว่นแคว้นขึ้นมาป็นครั้งแรกโดยมี พ่อขุนศรีนาวถมเป็นพ่อเมือง และเป็นช่วงที่อิทธิพลขอมเริ่มเสื่อมลงด้วย ทำให้สุโขทัยเป็นปึกแผ่นมากขึ้น หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุวุ่นวายขึ้น โดยมีขอมพวกหนึ่งชื่อว่า "ขอมสบาดโขลงลำพง" ได้เข้ายึดเมืองและ เป็นไปได้ว่า พ่อขุนศรีนาวถมได้เสียชีวิตไปแล้วในช่วงนี้ พ่อขุนผาเมือง ซึ่งครองเมืองราดอยู่จึงร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวรวมกำลังไปชิง เมืองสุโขทัยคืนมาได้สำเร็จ พ่อขุนผาเมืองจึงยกเมืองให้พ่อขุนบาง กลางหาวพร้อมทั้งมอบนาม "ศรีอินทราบดินทราทิตย์" ให้ด้วย อันเป็น ช่วง พ.ศ.1778 หลังจากนั้นการขยายอาณาเขตของสุโขทัยก็เริ่มขึ้นถือเป็นช่วงเวลาของ การกวาดต้อนผู้คนและรวมบ้านรวมเมืองให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร หลังจากพ่อขุนศรีอิทราทิตย์สิ้นพระชนม์ พ่อขุนบานเมืองซึ่งเป็นพระราชโอรส ได้ปกครองต่อ แต่ก็นับเป็นช่วงสมัยที่สั้นมาก เพียง 44 ปีนับตั้งแต่พ่อขุน ศรีอินทราทิตย์ ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาของการรวมแว่นแคว้นให้เป็นปึกแผ่น กษัตริย์ผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดของกรุงสุโขทัย คือโอรสองค์ ที่ 2 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระองค์มีชื่อเสียงในฐานะผู้สร้างกรุงสุโขทัย ให้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด เป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์อักษรไทยและสร้างศิลาจารึก ในยุคนี้ขอบเขตของอาณาจักรสุโขทัยได้แผ่ขยายออกไปมากที่สุด โดยในเรื่อง ของระบบเศรษฐกิจนั้นก็เป็นระบบแบบเปิดเสรี คือ ไม่มีการเก็บภาษีทำให้สุโขทัย เติบโตขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ และเป็นแหล่งรวมวัมนธรรมอันหลาก หลายแห่งแว่นแคว้นนี้ เมื่อสิ้นแผ่นดินพ่อขุนรามคำแหง กรุงสุโขทัยเริ่มอ่อนกำลังลง พระมหาธรรมราชาที่1 หรือ พระยาลิไทย ผู้ปกครองสุโขทัยอยู่ในช่วงประมาณปีพ.ศ.1890-1913 จึงได้นำ พระพุทธศาสนาเข้ามาฟื้นฟูการปกครอง และทรงขยายอำนาจด้วยการทำสงครามพร้อมๆ กับการเผยแพร่ศาสนา แต่หลังจากสิ้นสมัยของพระองค์แล้ว อาณาจักรสุโขทัยก็เริ่มอ่อน แอลงอย่างแท้จริง พร้อมๆกับที่แว่นแคว้นอื่นเข้มแข็งขึ้น ล้านนาขยายอำนาจลงมาจนถึง ลุ่มแม่น้ำยม-น่าน แคว้นละโว้-อยุธยาเข้มแข็งขึ้นจากการรวมตัวกับสุพรรณบุรีที่ครอง อำนาจอยู่เหนือลุ่มแม่น้ำท่าจีน จนในที่สุดก็ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นได้สำเร็จในปี พ.ศ.1893 หลังจากนั้นไม่นานอาณาจักรสุโขทัยก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา
แบบฝึกหัด : http://quickr.me/B9IDFhi

ประวัติศาตร์ชาติไทย สมัยอยุธยา



กรุงศรีอยุธยาก่อกำเนิดขึ้นเป็น ราชธานีในปี พ.ศ.1893 แต่มีข้อถกเถียงกันมากว่า การถือกำเนิดของกรุง ศรีอยุธยานั้น มิได้เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนเสียทีเดียว มีหลักฐานว่าก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างเมืองขึ้นที่ตำบลหนอง โสน บริเวณนี้เคยมีผู้คนอาศัยมาก่อนแล้ว วัดสำคัญอย่างวัดมเหยงค์ วัดอ โยธยา และวัดใหญ่ชัยมงคล ล้วนเป็นวัดเก่าที่มีมาก่อนสร้างกรุงศรี อยุธยาทั้งสิ้น โดยเฉพาะที่วัดพนัญเชิง วัดที่ประดิษฐาน หลวงพ่อโต พระ พุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่แบบอู่ทอง พงศาวดารเก่าระบุว่า สร้างขึ้นก่อน การสร้างพระนครศรีอยุธยาถึง 26 ปี วัดเหล่านี้ ตั้งอยู่ตามแนวฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก นอก เกาะเมืองอยุธยาที่มีการขุดพบคูเมืองเก่าด้วย ทำให้เชื่อกันว่าบริเวณนี้น่า จะเป็นเมืองเก่าที่มีชื่ออยู่ในศิลาจารึกกรุงสุโขทัยว่า อโยธยาศรีรามเทพ นครอโยธยาศรีรามเทพนคร ปรากฏชื่อเป็นเมืองแฝดละโว้อโยธยา มาตั้งแต่ช่วงราวปี พ.ศ.1700 เป็นต้นมา ครั้นก่อนปี พ.ศ.1900 พระเจ้าอู่ ทองซึ่งครองเมืองอโยธยาอยู่ก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของ กษัตริย์ทางฝ่ายสุพรรณภูมิ ซึ่งครองความเป็นใหญ่อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่ น้ำเจ้าพระยา อโยธยาและสุพรรณภูมิจึงรวมตัวกันขึ้น โดยอาศัยความ สัมพันธ์ทางเครือญาติ ครั้นเมื่อเกิดโรคระบาด พระเจ้าอู่ทองจึงอพยพผู้คนจากเมืองอ โยธยาเดิม ข้ามแม่น้ำป่าสักมาตั้งเมืองใหม่ที่ตำบลหนองโสน หรือที่รู้จัก กันว่า บึงพระราม ในปัจจุบัน กรุงศรีอยุธยาจึงก่อเกิดเป็นราชธานีขึ้นใน ปี พ.ศ.1893 พระเจ้าอู่ทองเสด็จฯ เสวยราชย์เป็นสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยของพระองค์นับได้ว่าเป็นยุคของการก่อร่างสร้างเมือง และวางรูปแบบการปกครองขึ้นมาใหม่ ทรงแบ่งการบริหารราชการออก เป็น 4 กรม ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง และ นา หรือที่เรียกกันว่า จตุสดมภ์ ระบบที่ทรงวางไว้แต่แรกเริ่มนี้ ปรากฏว่าได้สืบทอดใช้กันมา ตลอด 400 กว่าปีของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ครองราชย์อยู่ได้เพียง 19 ปี ก็เสด็จ สวรรคต หลังจากรัชสมัยของพระองค์ ผู้ได้สร้างราชธานีแห่งนี้ขึ้นจาก ความสัมพันธ์ของสองแว่นแคว้น กรุงศรีอยุธยาได้กลายเป็นเวทีแห่งการ แก่งแย่งชิงอำนาจระหว่างสองราชวงศ์คือ ละโว้-อโยธยา และราชวงศ์ สุพรรณภูมิ สมเด็จพระราเมศวร โอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ขึ้นครอง ราชย์ต่อจากพระราชบิดาได้ไม่ทันไร ขุนหลวงพะงั่ว จากราชวงศ์สุพรรณ ภูมิ ผู้มีศักดิ์เป็นอาก็แย่งชิงอำนาจได้สำเร็จ ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระ บรมราชาธิราช เมื่อสิ้นรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราช สมเด็จพระ ราเมศวรก็กลับมาชิงราชสมบัติกลับคืน มีการแย่งชิงอำนาจผลัดกันขึ้นเป็นใหญ่ระหว่างสองราชวงศ์นี้อยู่ ถึง 40 ปี จนสมเด็จพระนครอินทร์ ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ทางสุพรรณภูมิและ สัมพันธ์แน่นแฟ้นอยู่กับสุโขทัย แย่งชิงอำนาจกลับคืนมาได้สำเร็จ พระ องค์สามารถรวมทั้งสองฝ่ายให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างแท้จริง ในช่วงของการแก่งแย่งอำนาจกันเองนั้น กรุงศรีอยุธยาก็ พยายามแผ่อำนาจไปตีแดนเขมรอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ.1974 หลัง สถาปนากรุงศรีอยุธยาได้แล้วราว 80 ปี สมเด็จเจ้าสามพระองค์ พระ โอรสของสมเด็จพระนครอินทร์ ก็ตีเขมรได้สำเร็จ เขมรสูญเสียอำนาจจน ต้องย้ายเมืองหลวงจากเมืองพระนครไปอยู่เมืองละแวกและพนมเปญในที่สุด ผลของชัยชนะครั้งนี้ ทำให้มีการกวาดต้อนเชลยศึกกลับมา จำนวนมาก และทำให้อิทธิพลของเขมรในอยุธยาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็น เรื่องปกติที่ผู้ชนะมักรับเอาวัฒนธรรมของผู้แพ้มาใช้ กรุงศรีอยุธยาหลังสถาปนามาได้กว่าครึ่งศตวรรษก็เริ่มเป็นศูนย์ กลางของราชอาณาจักรอย่างแท้จริง มีอาณาเขตอันกว้างขวางด้วยการ ผนวกเอาสุโขทัยและสุพรรณภูมิเข้าไว้ มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับจีน และวัดวาอารามต่าง ๆ ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่จน งดงาม หลังรัชกาลสมเด็จเจ้าสามพระยา แล้ว กรุงศรีอยุธยาก็เข้าสู่ยุคสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นช่วง เวลาที่อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง มีการติดต่อค้าขาย กับบ้านเมืองภายนอก รวมทั้งมีการปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองขึ้น พระองค์ทรงยกเลิกการปกครองที่กระจายอำนาจให้เมืองลูก หลวงปกครองอย่างเป็นอิสระ มาเป็นการรวบอำนาจไว้ที่พระมหากษัตริย์ แล้วทรงแบ่งเมืองต่าง ๆ รอบนอกออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก ซึ่งเมืองเหล่านี้ดูแลโดยขุนนางที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง นอกจากนี้ก็ยังได้ทรงสร้างระบบศักดินาขึ้น อันเป็นการให้ กรรมสิทธิ์ถือที่นาได้มากน้อยตามยศ พระมหากษัตริย์มีสิทธิ์ที่จะ เพิ่ม หรือ ลด ศักดินาแก่ใครก็ได้ และหากใครทำผิดก็ต้องถูกปรับไหมตาม ศักดินานั้น ในเวลานั้นเอง กรุงศรีอยุธยาที่เจริญมาได้ถึงร้อยปีก็กลายเป็น เมืองที่งดงามและมีระเบียบแบบแผน วัดต่าง ๆ ที่ได้ก่อสร้างขึ้นอย่าง วิจิตรบรรจงเกิดขึ้นนับร้อย พระราชวังใหม่ได้ก่อสร้างขึ้นอย่างใหญ่โตก ว้างขวาง ส่วนที่เป็นพระราชวังไม้เดิมได้กลายเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดคู่เมืองที่สำคัญ กรุงศรีอยุธยากำลังจะเติบโตเป็นนครแห่งพ่อค้าวาณิชอันรุ่งเรือง เพราะเส้นทางคมนาคมอันสะดวก ที่เรือสินค้าน้อยใหญ่จะเข้ามาจอด เทียบท่าได้ แต่พร้อม ๆ กับความรุ่งเรืองและความเปลี่ยนแปลง สงครามก็ เกิดขึ้น ช่วงเวลานั้น ล้านนา ที่มีพระมหากษัตริย์คือราชวงศ์เม็งราย ครองสืบต่อกันมา กำลังเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญของกรุงศรี อยุธยา พระเจ้าติโลกราชซึ่งได้ขยายอาณาเขตลงมาจนได้เมืองแพร่และ น่านก็ทรงดำริที่จะขยายอาณาเขตลงมาอีก เวลานั้นเจ้านายทางแคว้น สุโขทัยที่ถูกลดอำนาจด้วยการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตร โลกนาถเกิดความไม่พอใจอยุธยา จึงได้ชักนำให้พระเจ้าติโลกราชยกทัพ มายึดเมืองศรีสัชนาลัยซึ่งอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต้องเสด็จกลับไปประทับอยู่ที่เมือง สระหลวงพรือพิษณุโลก เพื่อทำสงครามกับเชียงใหม่ วงครามยืดเยื้อยาว นานอยู่ถึง 7 ปี ในที่สุดอยุธยาก็ยึดเมืองศรีสัชนาลัยกลับคืนมาได้ ตลอดรัชกาลอันยาวนานของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 กรุงศรีอยุธยาได้เจริญอย่างต่อเนื่องอยู่นานถึง 81 ปี การค้ากับต่างประเทศก็เจริญก้าวหน้าไปอย่างกว้างขวาง วัฒน ธรรมก็เฝื่องฟูทั้งทางศาสนาและประเพณีต่าง ๆ แต่หลังรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2การแย่งชิงอำนาจภายใน ก็ทำให้กรุงศรีอยุธยาอ่อนแอลง ขณะเดียวกันที่พม่ากลับเข้มแข็งขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรได้ทำให้เกิด สงครามครั้งใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ อันอาจจะเรียก ได้ว่ายุคแห่งความคับเข็ญยุ่งเหยิงนี้ เริ่มต้นด้วยการมาถึงของชาวตะวัน ตกพร้อม ๆ กับการรุกรานจากพม่า เมื่อวาสโก ตากามา ชาวโปรตุเกสเดินเรือผ่านแหลมกูดโฮปได้ สำเร็จในราว พ.ศ.2000 กองเรือของโปรตุเกสก็ทยอยกันมายังดินแดนฝั่ง ทวีปเอเชีย ในปี พ.ศ.2054 อัลฟองโซ เดอ อัลบูเควิก ชาวโปรตุเกสก็ยึด มะละกาได้สำเร็จ ส่งคณะฑูตของเขามายังสยาม คือ ดูอารต์ เฟอร์นันเดซ ซึ่งถือเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่มาถึงแผ่นดินสยาม ชาวโปรตุเกสมาพร้อมกับวิทยาการสมัยใหม่ ความรู้เกี่ยวกับการ สร้างป้อมปราการ อาวุธปืน ทำให้สมัยต่อมาพระเจ้าไชยราชาธิราชก็ยก ทัพไปตีล้านนาได้สำเร็จ กรุงศรีอยุธยาเป็นใหญ่ขึ้น ในขณะที่พม่าเองในยุคของ พระเจ้า ตะเบ็งชะเวตี้ ก็กำลังแผ่อิทธิพลลงมาจนยึดเมืองมอญที่หงสาวดีได้ สำเร็จ อยุธยากับพม่าก็เกิดการเผชิญหน้ากันขึ้น เมื่อพวกมอญจากเชียง กรานที่ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจพม่าหนีมาพึ่งฝั่งไทย พระเจ้าไชยราชาธิราช ยกกองทัพไปขับไล่พม่า ยึดเมืองเชียงกรานคืนมาได้สำเร็จ ความขัดแย้ง ระหว่างไทยกับพม่าก็เปิดฉากขึ้น หลังพระเจ้าไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคตเพราะถูกปลงพระชนม์ แผ่นดินอยุธยาก็อ่อนแอลงด้วยการแย่งชิงอำนาจ พระยอดฟ้าซึ่งมีพระ ชนม์เพียง 11 พรรษาขึ้นครองราชย์ได้ไม่ทันไรก็ถูกปลงพระชนม์อีก ในที่ สุดก็ถึงแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พม่าสบโอกาสยกทัพผ่านด่านเจดีย์ 3 องค์ เข้ามาปิดล้อมกรุงศรี อยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดินำกองทัพออกรับสู้ ในช่วงนี้เองที่หน้า ประวัติศาสตร์ได้บันทึกวีรกรรมของวีรสตรีพระองค์หนึ่ง คือ สมเด็จพระศรี สุริโยทัย ที่ปลอมพระองค์ออกรบด้วย และได้ไสช้างเข้าขวางสมเด็จพระ มหาจักรพรรดิที่กำลังเพลี่ยงพล้ำ จนถูกฟันสิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง ทุกวัน นี้อนุสาวรีย์เชิดชูวีรกรรมของพระองค์ยังคงตั้งเด่นเป็นสง่า อยู่ใจกลาง เมืองพระนครศรีอยุธยา ครั้งนั้นเมื่อพม่ายึดพระนครไม่สำเร็จ เพราะไม่ชำนาญภูมิ ประเทศ กองทัพพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ต้องยกทัพกลับไปในที่สุด ฝ่ายไทยก็ตระเตรียมการป้องกันพระนครเพื่อตั้งรับการรุกราน ของพม่าที่จะมีมาอีก การเตรียมกำลังผู้คน การคล้องช้างเพื่อจัดหาช้างไว้ เป็นพาหนะสำคัญในการทำศึกครั้งนี้ ทำให้มีการพบช้างเผือกถึง 7 เชือก อันเป็นบุญบารมีสูงสุดของพระมหากษัตริย์ แต่นั่นกลับนำมาซึ่งสงคราม ยืดเยื้อยาวนานอยู่นับสิบปี พระเจ้าบุเรงนอง ผู้นำพม่าคนใหม่อ้างเหตุการณ์ต้องการช้างเพื อกที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิมีอยู่ถึง 7 เชือก ยกทัพมาทำสงครามกับ กรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง แล้วไทยก็เสียกรุงแก่พม่าเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2112 ช้างเผือกอัน เป็นสาเหตุของสงครามก็ถูกกวาดต้อนไปพร้อมกับผู้คนจำนวนมาก พระ นเรศวรและพระเอกาทศรถ พระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่พม่าตั้งให้ เป็นกษัตริย์ปกครองอยุธยาต่อไปในฐานะเมืองประเทศราชก็ทรงถูกบังคับ ให้ต้องไปด้วย กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นของพม่าในครั้งนี้อยู่ถึง 15 ปี พระ นเรศวรก็ประกาศอิสรภาพ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพแล้ว กองทัพพม่านำโดย พระมหาอุปราชก็คุมทัพลงมาปราบ สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปตั้งที่ ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วการรบครั้งยิ่งใหญ่ก็อุบัติขึ้น สมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีจนได้ชัยชนะ พระมหาอุปราชถูกฟัน สิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง เป็นผลให้กองทัพพม่าต้องแตกพ่ายกลับไป ยุคสมัยของสมเด็จพระนเรศวร กรุงศรีอยุธยาเป็นปึกแผ่นมั่นคง ศัตรูทางพม่าอ่อนแอลง ขณะเดียวกันเขมรก็ถูกปราบปรามจนสงบ ความ มั่นคงทางเศรษฐกิจจึงเกิดขึ้นตามมา อันส่งผลให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็น อาณาจักรที่รุ่งเรืองถึงขีดสุด ตามคำกล่าวของชาวยุโรปที่หลั่งไหลเข้ามา ติดต่อค้าขายในช่วงเวลาดังกล่าว นับตั้งแต่สมัยพระนเรศวรเป็นต้นมา กรุงศรี อยุธยาก็กลายเป็นศูนย์กลางการค้าทั้งในและนอกประเทศ มีผู้คนเดินทาง เข้ามาติดต่อค้าขายเป็นจำนวนมากต่างก็ชื่นชมเมืองที่โอบล้อมไปด้วยแม่ น้ำลำคลอง ผู้คนสัญจรไปมาโดยใช้เรือเป็นพาหนะ จึงพากันเรียกพระ นครแห่งนี้ว่า เวนิสตะวันออก หลังจากโปรตุเกสเข้ามาติดต่อค้าขายเป็นชาติแรกแล้ว ฮอลันดา ญี่ปุ่นและอังกฤษก็ตามเข้ามา ทั้งนี้ไม่นับจีนซึ่งค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา อยู่ก่อนแล้ว ชนชาติต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการจัดสรรที่ดินให้อยู่เป็นย่าน เฉพาะ ดังปรากฏชื่อบ้านโปรตุเกส บ้านญี่ปุ่นและบ้านฮอลันดามาจน ปัจจุบัน บันทึกของชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งซึ่งบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้คัด ลอกมา เล่าถึงพระนครศรีอยุธยาในสมัยนั้นไว้ว่า เป็นพระนครที่มีผู้คนต่างชาติต่างภาษารวมกันอยู่ ดูเหมือนเป็น ศูนย์กลางการค้าขายในโลก ได้ยินผู้คนพูดภาษาต่าง ๆ ทุกภาษา ในบรรดาชาวต่างชาติที่มาค้าขายกับอยุธยาในยุคแรกนั้น ญี่ปุ่น กลับเป็นชาติที่มีอิทธิพลมากที่สุด ยามาดะ นางามาซะ ชาวญี่ปุ่นได้รับ ความไว้วางใจถึงขั้นได้ดำรงตำแหน่งขุนนางในราชสำนักของพระเอกาทศ รถ มียศเรียกว่า ออกญาเสนาภิมุข ต่อมาได้ก่อความยุ่งยากขึ้นจด หมดอิทธิพลไปในที่สุด แม้จะมีชนชาติต่าง ๆ เข้ามาค้าขายด้วยมากมาย แต่กรุงศรี อยุธยาก็ดูเหมือนจะผูกพันการค้ากับจีนไว้อย่างเหนียวแน่น จีนเองก็ส่ง เสริมให้อยุธยาผลิตเครื่องปั้นดินเผาโดยเฉพาะเครื่องสังคโลก เพื่อส่งออก ไปยังตะวันออกกลางและหมู่เกาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การค้าขายต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้กรุงศรีอยุธยามีการเก็บภาษีที่ เรียกว่า ขนอน มีด่านขนอนซึ่งเป็นด่านเก็บภาษีอยู่ตามลำน้ำใหญ่ทั้ง 4 ทิศ และยังมีขนอนบกคอยเก็บภาษีที่มาทางบกอีกต่างหาก นอกเหนือจากความเป็นเมืองท่าแล้ว อยุธยายังเป็นชุมทางการ ค้าภายในอีกด้วย ตลาดกว่า 60 แห่งในพระนคร มีทั้งตลาดน้ำ ตลาดบก และยังมีย่านต่าง ๆ ที่ผลิตสินค้าด้วยความชำนาญเฉพาะด้าน มีย่านที่ ผลิตน้ำมันงา ย่านทำมีด ย่านปั้นหม้อ ย่านทำแป้งหอมธูปกระแจะ ฯลฯ คูคลองต่าง ๆ ในอยุธยาได้สร้างสังคมชาวน้ำขึ้นพร้อมไปกับวิถี ชีวิตแบบเกษตรกรรม เมื่อถึงหน้าน้ำก็มีการเล่นเพลงเรือเป็นที่สนุกสนาน เมื่อเสร็จหน้านาก็มีการทอดกฐิน ลอยกระทง งานรื่นเริงต่าง ๆ ของชาว บ้านมักทำควบคู่ไปกับพิธีการของชาววัง เช่น พระราชพิธีจองเปรียญตาม พระประทีป ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นลอยกระทงทรงประทีป พระราชพิธี สงกรานต์ พระราชพิธีแรกนาขวัญ พิธีกรรมเหล่านี้สะท้อนวิถีชีวิตของชาว อยุธยาที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติแม่น้ำลำคลองอย่างเหนียวแน่น อยุธยาเจริญขึ้นมาโดยตลอด การค้าสร้างความมั่งคั่งให้พระคลัง ที่มีสิทธิ์ซื้อสินค้าจากเรือสินค้าต่างประเทศทุกลำได้ก่อนโดยไม่เสียภาษี ความมั่งคั่งของราชสำนักนำไปสู่การสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ การทำนุ บำรุงศาสนาและการก่อสร้างพระราชวังให้ใหญ่โตสง่างาม ในสายตาของชาวต่างประเทศแล้ว กรุงศรีอยุธยาเป็นมหานคร อันยิ่งใหญ่ ที่มีพระราชวังเป็นศูนย์กลาง โยสเซาเต็น พ่อค้าชาวฮอลันดาที่ เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระจเาปราสาททองได้บันทึกไว้ว่า กรุงศรีอยุธยาเป็นครที่ใหญ่โตโอ่อ่าวิจิตรพิสดาร และพระมหากษัตริย์ สยามเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในภาคตะวันออกนี้ พระนครแห่งนี้ ภายนอกอาจดูสงบงดงามและร่มเย็นจากสายตา ของคนภายนอก แต่แท้จริงแล้วบัลลังก์แห่งอำนาจภายในของกรุงศรี อยุธยาไม่เคยสงบ เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคต การแย่งชิงอำนาจได้ ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี พ.ศ.2172 ราชวงศ์สุโขทัยที่ครองราชย์ สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยของพระมหาธรรมราชาก็ถูกโค่นล้ม พระเจ้า ปราสาททองเสด็จขึ้นครองราชย์ และสถาปนาราชวงศ์ปราสาททองขึ้น ใหม่ แม้จะครองบัลลังก์จากการโค่นล้มราชวงศ์อื่นลง ยุคสมัยของ พระองค์และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ยาวนานถึง 60 ปีนั้น กลับ เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด พระเจ้าปราสาททองทรงมุ่งพัฒนาบ้านเมืองทั้งทางด้านศิลป กรรมและการค้ากับต่างประเทศ ทรงโปรดให้สร้างวัดไชยวัฒนารามริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นด้วยคติเขาพระสุเมรุจำลอง อันเป็นแบบอย่างที่ได้รับ อิทธิพลมาจากปราสาทขอม พร้อมกันนี้ก็ได้มีการคิดค้นรูปแบบทางศิลป กรรมใหม่ ๆ ขึ้น เช่นพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบ อยุธยาอันงดงามก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาในสมัยนี้ ทางด้านการค้ากับต่างประเทศ หลังจากที่โปรตุเกสเข้ามาค้า ขายกับกรุงศรีอยุธยาจนทำให้เมืองลิสบอนของโปรตุเกสกลายเป็นศูนย์ กลางการค้าเครื่องเทศและพริกไทยในยุโรปนานเกือบศตวรรษแล้ว ฮอลันดาจึงเริ่มเข้ามาสร้างอิทธิพลแข่ง กรุงศรีอยุธยาสร้างไมตรีด้วยการให้สิทธิพิเศษบางอย่างแก่พวก ดัตช์ เพื่อถ่งดุลกับชาวโปรตุเกสที่เนิ่มก้าวร้าวและเรียกร้องสิทธิพิเศษเพิ่มขึ้นทุกขณะ พอถึงสมัยพระเจ้าปราสาททอง การค้าของฮอลันดาเจริญรุ่งเรือง ขึ้นมาก จึงเริ่มแสดงอิทธิพลบีบคั้นไทย ประกอบกับพระคลังในสมัยนั้นได้ ดำเนินการผูกขาดสินค้าหลายชนิด รวมทั้งหนังสัตว์ที่เป็นสินค้าหลักของ ชาวดัตช์ ทำให้เกิดความไม่พอใจถึงขั้นจะใช้กำลังกันขึ้น ถึงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฮอลันดาก็คุกคามหนัก ขึ้น ในที่สุดก็เข้ายึดเรือสินค้าของพระนารายณ์ที่ชักธงโปรตุเกสในอ่าวตัง เกี๋ย ต่อมาไม่นานก็นำเรือ 2 ลำเข้ามาปิดอ่าวไทย เรียกร้องไม่ให้จ้างชาว จีน ญี่ปุ่น และญวนในเรือสินค้าของอยุธยา เพื่อปิดทางไม่ให้อยุธยาค้า ขายแข่งด้วย มีการเจรจากันในท้ายที่สุด ซึ่งผลจากการเจรจานี้ทำให้ ฮอลันดาได้สิทธิ์ผูกขาดหนังสัตว์อย่างเดิม เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดที่นับวันจะเพิ่มขึ้นทุกขณะ สมเด็จพระนารายณ์จึงหัน ไปเอาใจอังกฤษกับฝรั่งเศสแทน ในช่วงนี้เองความสัมพันธ์ระหว่างกรุงสยามกับ ฝรั่งเศสเจริญรุ่งเรืองอย่างที่สุด บุคคลผู้หนึ่งที่ก้าวเข้ามาในช่วงนี้และต่อไปจะได้มี บทบาทอย่างมากในราชสำนักสยาม ก็คือ คอนแสตนติน ฟอลคอน ฟอลคอนเป็นชาวกรีกที่เข้ามารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ราวกลาง รัชสมัย และเจริญก้าวหน้าจนขึ้นเป็นพระยาวิชาเยนทร์ในเวลาอันรวดเร็ว เวลาเดียว กันกับที่ฟอลคอนก้าวขึ้นมามีอำนาจในราชสำนักไทย ฝรั่งเศสในราชสำนักกของ พระเเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาติดต่อการค้าและเผยแพร่ศาสนาก็พยายามเกลี้ยกล่อม ให้สมเด็จพระนารายณ์หันมาเข้ารีตนิกกายโรมันคาทอลิกตามอย่างประเทศฝรั่งเศส ในช่วงเวลานี้ได้มีการส่งคณะทูตสยามเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี ทางฝรั่งเศสเองก็ส่งคณะทูตเข้ามาในสยามบ่อยครั้ง โดยมีจุดประสงค์หลักคือชัก ชวนให้พระนารายณ์ทรงเข้ารีต ฟอลคอนเองซึ่งเปลี่ยนมานับถือนิกาย โรมันคาทอลิกตามภรรยา ไดด้สมคบกับฝรั่งเศสคิดจะเปลี่ยนแผ่นดินสยามให้เป็น เมืองขึ้นของฝรั่งเศส ดังเช่นใน พ.ศ. 2228 โดยราชทูตเชอวาเลีย เดอโชมองต์, ปี พ.ศ. 2230 โดยลาลูแบร์ ก็กลับไม่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนให้พระเจ้าแผ่น ดินสยามหันมาเข้ารีต ไม่นานชาวสยามก็เริ่มชิงชังฟอลคอนมากขึ้น อิทธิพลของฟอลคอนที่มีต่อราช สำนักกสยามก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ปี พ.ศ. 2231 สมเด็จพระนารายณ์ทรงประชวน หนัก ไม่สามารถว่าราชกาลได้ มีรับสั่งให้ฟอลคอนรีบลาออกจากราชการและไป เสียจากเมืองไทย แต่ก็ช้าไปด้วยเกิดความวุ่นวายขึ้นเสียก่อน พระเพทราชาและ คณะผู้ไม่พอใจฝรั่งเศสจับฟอลคอนไปประหารชีวิต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จ สวรรคตในเดือนต่อมาพระเพทราชาก็เสด็จขึ้นเถลิงราชสมบัติแทน การเข้ามาของยุโรปจำนวนมากในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จ พระนารายณ์ นอกจากจะทำให้บ้านเมืองมีความมั่งคั่งแล้ว ยังก้าวหน้าไปด้วยวิทยา การสมัยใหม่ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม การแพทย์ ดาราศาสตร์ การทหาร มีการ ก่อสร้างอาคาร ป้อมปราการ พระที่นั่งในพระราชวังเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีแบบ ตะวันตก นอกจากนี้ภาพวาดของชาวตะวันตกยังแสดงให้เห็นว่ามีการส่องกล้องดู ดาวในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ด้วย เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ความขัดแย้งภายในเมื่องจากการแย่งชิงราช สมบัติเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้การติดต่อกับต่างประเทศซบเซาลงไป ตั้งแต่รัช สมัยสมเด็จพระเพทราชาจนถึงพระเจ้าท้ายสระ มีการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆเพียงไม่กี่อย่าง ครั้นถึงสมัยพระเจ้าบรมโกศ บ้านเมืองก็กลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง จนกล่าวได้ว่ายุคสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของศิลปวิทยา การอย่างแท้จริงก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะตกต่ำไปจนถึงกาลล่มสลาย ในรัชกาลนี้ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระราชวังและวัดวาอารามต่างๆ ศิลปกรรม เฟื่องฟูขึ้นมาอย่างมากทั้งในด้านลวดลายปูนปั้น การลงรักปิดทอง การช่างประดับ มุก การแกะสลักประตูไม้ ทางด้านวรรณคดีก็มีกวีเกิดขึ้นหลายคน ที่โดเด่นและ เป็นที่รู้จักคือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร ผู้นิพนธ์กาพย์เห่เรือ ส่วยการมหรสพก็มีการฟื้น ฟูบทละครนอกละครในขึ้นมาเล่นกันอย่างกว้างขวาง กรุงศรีอยุธยาถูกขับกล่อม ด้วยเสียงดนตรัและความรื่นเริงอยู่ตลอดเวลา แต่ท่ามกลางความสงบสุขและรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม ความขัดแย้งค่อยๆ ก่อตัวขึ้น การแย่งอำนาจทั้งในหมู่พระราชวงศ์ ขุนนาง ทำให้อีกไม่ถึง 10 ปีต่อ มากรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พพม่าในสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์ เมื่อ พ.ศ.2310 กรุงศรีอยุธยาในสมัยของพระเจ้าบรมโกศจนถึงสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์นั้น คล้ายกับพลุที่จุดขึ้นสว่างโร่บนท้องฟ้าชั่วเวลาเพียงไม่นานแล้วก็ดับวูบลงทันที วักรุงแตกเมื่อ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 เล่ากัยว่าในกำแพงเมืองมีผู้คนหนีพม่า มาแออัดอยู่นับแสนคน ปรากฏว่าได้ถูกพม่าฆ่าตายไปเสียกว่าครึ่ง ที่เหลือก็หนี ไปอยู่ตามป่าตามเขา พม่าได้ปล้นสะดม เผาบ้านเรือน พระราชวังและวัดวาอาราม ต่างๆจนหมดสิ้น นอกจากนี้ยังหลอมเอาทองที่องค์พระและกวาดต้อนผู้คนกลับ ไปจำนวนมาก อารยธรรมที่สั่งสมมากว่า 400 ปี ของกรุงศรีอยุธยาก็ถูกทำลาย ลงอย่างราบคาบเมื่อสิ้นสงกรานต์ปีนั้น หลังจากกรุงแตกแล้วพม่าก็มิได้เข้ามาปกครองสยามอย่างเต็มตัว คงทิ้งให้สุกี้ พระนายกองตั้งอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้นเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย สภาพบ้าน เมืองหลังจากเสียแก่พม่าแล้วก็มีชุมนุมเกิดขึ้นตามหัวเมืองต่าง ได้แก่ ชุมนุม เจ้าฝาง ชุมนุมเจ้าตาก ชุมนุมเจ้าพิษณุโลก ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ที่ต่าง ก็ซ่องสุมผู้คนเพื่อเตรียมแผนการใหญ่ ในบรรดาชุมนุมใหญ่น้อยเหล่านี้ ชุมนึมพระเจ้าตากได้เติบโตเข้มแข็งขึ้นเมื่อ ยึดได้เมืองจันทบุรี กองทัพพระเจ้าตากใช้เวลาหลายเดือนในการรวบรวมผู้ คนตระเตรียมเรือรบ แล้วจึงเดินทัพทางทะเลขึ้นมาจนถึงเมืองธนบุรี เข้ายึด เมืองธนบุรีได้แล้ว ไม่นานก็ตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้นแตกในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 นับรวมเวลาในการกอบกู้เอกราชไม่ถึงหนึ่งปี สมดังคำที่ว่า "กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี"
เเบบฝึกหัด : http://quickr.me/41PvYEZ