หน่วยที่ 1 เรื่อง กฎหมาย




1.1.ความหมายของกฏหมาย
ได้มีผู้ให้ความหมายของกฏหมายไว้ดังนี้
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฏหมายไทย
"กฏหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตาม ธรรมดาต้องลงโทษ"
ดร.สายหยุด แสงอุทัย
"กฏหมาย คือข้อบังคับของรัฐที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ"
กฏหมาย สามารถแยกได้เป็น 2 คำคือ คำว่ากฏซึ่งแผลงมาจากคำว่า กด หรือกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายและถูกลงโทษ
จากคำจำกัดความของกฏหมายข้างต้น สามารถสรุปความหมายของกฏหมายได้ว่า หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ บทบัญญัติซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐหรือประเทศ ได้กำหนดมาเพื่อใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองหรือบังคับความประพฤติของประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฏหมาย
1.2.ความสำคัญของกฎหมาย
       กฎหมายเป็นกติกาสำคัญในการจัดการปกครองบ้านเมือง  กฎหมายกำหนดขอบเขตอำนาจผู้ปกครอง  อันได้แก่  หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ  รวมทั้งหน้าที่ของพลเมืองที่มีต่อรัฐพร้อมกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน  และระหว่างประชาชนด้วยกันเอง  อันเป็นกติกาสำคัญที่ทำให้การปกครองบ้านเมือง ดำเนินไปอย่างราบรื่น
      กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญในการปกป้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิ  เสรีภาพ  และความ เสมอภาคฃของประชาชน ภายใต้การปกป้องคุ้มครองของกฎหมาย  ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  พร้อมทั้งมีความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินกฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญในการปกป้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิ  เสรีภาพ  และความเสมอภาคฃของประชาชน ภายใต้การปกป้องคุ้มครองของกฎหมาย  ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  พร้อมทั้งมีความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน
            กฎหมายเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของคนในสังคม   กฎหมายกำหนดสิ่งที่ถูกต้องควรกระทำ  และสิ่งที่ผิดไม่ควรกระทำ  การเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายทำให้ผู้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติตนไปในทางเดียวกัน  มีวิถีการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกัน  ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้ง และทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างประนีประนอม
           กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ  กฎหมายมีลักษณะของการบังคับให้ปฏิบัติ
ตาม ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมาย  จะต้อง
ได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้  ลักษณะของกฎหมายดังกล่าวนี้  เรียกว่า  สภาพบังคับ  ผลร้ายหรือการลงโทษเมื่อมีการละเมิดกฎหมายมีหลายลักษณะ  เช่น กฎหมาอาญา มีสภาพบังคับ 1. โทษประหารชีวิต  2.  จำคุก   3.กักขัง  4. ปรับ  5. ริบทรัพย์สิน  กฎหมายแพ่ง มีสภาพบังคับ    ให้ชดใช้ค่าเสียหาย  เป็นต้น ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำ
1.3.องค์ประกอบภายนอก
ได้แก่ การกระทำและสิ่งต่าง ๆ ที่กฎหมายอาญาบัญญัติว่าเป็นความผิด เท่าที่ปรากฏออกมา
ภายนอก คือเท่าที่ปรากฏออกมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย หลักในการแบ่งแยกองค์ประกอบ
ความผิดแต่ละความผิดนั้น คือ จะต้องตั้งต้นที่ "การกระทำ" ที่กฎหมายบัญญัติไว้เสียก่อน
ข้อยกเว้นมีในกรณีที่กฎหมายได้กำหนดคุณสมบัติของผู้กระทำด้วย เช่น กำหนดว่าผู้กระทำ
จะต้องเป็นเจ้าพนักงานจึงจะทำผิดได้

๒.องค์ประกอบภายใน
ได้แก่ เป็นเรื่องที่กฎหมายที่กำหนดความผิดได้กำหนดไว้เกี่ยวกับจิตใจของผู้กระทำผิด คือ
เจตนา มูลเหตุชักจูงใจและประมาท
เจตนา (ป.อ.มาตรา ๕๙) เมื่อกฎหมายกำหนดว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดแล้ว บุคคลนั้น
ต้องกระทำโดยเจตนาจึงจะมีความผิด เว้นแต่ จะเข้าข้อยกเว้น กล่าวคือ (๑) กฎหมายบัญญัติไว้
โดยชัดแจ้งว่าเป็นความผิด (๒) ความผิดลหุโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่ง
แม้ไม่ได้กระทำโดยเจตนาก็เป็นความผิด เว้นแต่ถ้อยคำในตัวบทจะแสดงว่าต้องเจตนาจึงจะ
เป็นความผิด และ (๓) ความผิดตามพระราชบัญญัติอื่น ซึ่งระบุไว้ชัดแจ้งว่าแม้ไม่ได้กระทำ
โดยเจตนาก็เป็นความผิด
ประมาท (ป.อ.มาตรา ๕๙) จะเป็นความผิดต่อเมื่อกฎหมายได้ระบุไว้ในมาตราที่บัญญัติถึง
ความผิดนั้นว่า การกระทำโดยประมาทมีความผิด ดังนั้น ถ้ามาตราใดในประมวลกฎหมาย
อาญาไม่มีคำว่า "ประมาท" แล้ว ต้องถือว่าผู้กระทำต้องมีเจตนาธรรมดาจึงจะมีความผิด
ทั้งนี้ นอกจากข้อยกเว้น อีก ๒ ประการที่ มาตรา ๕๙ บัญญัติไว้ คือ
(๑) ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา ซึ่ง
หมายถึงกฎหมายอื่นนอกจากประมวลกฎหมายอาญา
(๒) ข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๐๔ บัญญัติว่า "การกระทำความผิด
ลหุโทษตามประมวลกฎหมายนี้ แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด เว้นแต่ ตาม
บทบัญญัติความผิดนั้นจะมีความบัญญัติให้เห็นเป็นอย่างอื่น"


๑.องค์ประกอบในทางรับ
เป็นองค์ประกอบปรกติของความผิด ซึ่งหมายความรวมถึงองค์ประกอบภายนอกและ
องค์ประกอบภายในด้วย องค์ประกอบในทางรับนี้มิได้มีเฉพาะในเรื่องความผิด แต่มีในเรื่อง
เหตุเพิ่มโทษและเรื่องอื่น ๆ เช่น เจตนาด้วย

๒.องค์ประกอบในทางปฏิเสธ
หมายความถึง องค์ประกอบที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าถ้าเข้าองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว ก็จะไม่
เป็นความผิดตามมาตราที่ระบุไว้ องค์ประกอบในทางปฏิเสธนี้มิใช่มีอยู่เฉพาะในเรื่อง
ความผิดเท่านั้น แม้ในเรื่องอื่นก็มีเหมือนกัน เช่น เรื่องประมาทตามมาตรา ๕๙ วรรคสี่
ซึ่งใช้คำว่า "กระทำโดยประมาท ได้แก่ ความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจาก
ความระมัดระวัง..." คำว่า "ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา" ย่อมเป็นองค์ประกอบ
ในทางปฏิเสธ กล่าวคือ ถ้าปรากฏว่าผู้กระทำโดยเจตนา ไม่ว่าจะเป็นเจตนาโดยประสงค์
ต่อผลหรือเจตนาโดยย่อมเล็งเห็นผล ย่อมจะเป็นความผิดฐานประมาทไม่ได้เลย

๓.องค์ประกอบในทางอธิบาย
ในตัวของมันเองไม่ได้ประกอบเป็นความผิด มันเป็นแต่อธิบายความผิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เท่านั้น เช่น
มาตรา ๒๗๗ บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี... โดยเด็กหญิง
นั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษ..." จะเห็นได้ว่า คำว่า "โดยเด็กหญิงนั้นจะ
ยินยอมหรือไม่ก็ตาม" นั้นเป็นแต่คำอธิบายเท่านั้น ผู้ใดกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน
สิบห้าปีย่อมมีความผิดเสมอ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความยินยอมของเด็กหญิงนั้น
ม่อนุมัติก็ให้พระราช   กำหนดนั้นตกไป
          3.กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองท้องถิ่น  ได้แก่  กฎหมายที่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นมีอำนาจตราขึ้นใช้บังคับในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ  เพื่อปฏิบัติงานตามอำนาจห
น้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ  ปัจจุบันมีกฎหมายที่ออกโดยองค์กร
ปกครองท้องถิ่น 5  รูปแบบ  ดังนี้

1.4. ประเภทของกฎหมาย
  การแบ่งประเภทของกฎหมายสามารถทำได้ในหลายลักษณะ  แล้วแต่ว่าจะใช้หลักเกณฑ์ใด
ในการจำแนก  เช่น  อาจแบ่งเป็น  กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร  กับ กฎหมายที่ไม่เป็น
ลายลักษณ์อักษร   ตามรูปแบบของกฎหมาย  หรืออาจแบ่งเป็น   กฎหมายภายในประเทศ
 กับ  กฎหมายระหว่างประเทศ  ตามขอบเขตของการบังคับใช้  เป็นต้น  สำหรับในบทเรียนนี้  จะจำแนกประเภทของกฎหมายตามความสัมพันธ์ของผู้ที่เกี่ยวข้อง  และตามข้อความของ
กฎหมาย  โดยแบ่งเป็น  ๒  ประเภท  คือ  กฎหมายมหาชน   และ   กฎหมายเอกชน
1.  กฎหมายมหาชน  เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ  หรือหน่วยงานของรัฐกับประชาชน  โดยรัฐและหน่วยงานของรัฐเป็นฝ่ายผู้ปกครอง
ซึ่งมีฐานะเหนือกว่าประชาชน  กฎหมายที่จัดอยู่ในประเภทกฎหมายมหาชนได้
แก่กฎหมาย ต่อไปน
2. กฎหมายเอกชน  เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน  ในฐานะเท่าเทียมกัน  เช่นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ในครอบครัว  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย  กฎหมายเอกชนแบ่งออกเป็น  2 
สาขา  คือ  กฎหมายแพ่ง  และกฎหมายพาณิชย์  ในประเทศไทยได้รวมกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ไว้ในประมวลกฎหมายฉบับเดียวกัน  คือ  ประมวลกำหมายแพ่ง
และพาณิชย์
ประเภทกฎหมายแบ่งตามองค์กร  ที่จัดทำกฎหมาย  จำแนกได้   3  ประเภท
            1.  กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ   ได้แก่  พระราชบัญญัติ  เป็นกฎหมายสำคัญ
ของประเทศ  จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนจึงจะประกาศใช้บังคับได้  ร่างพระราชบัญญัติจะได้รับการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรก่อน  เมื่อสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบแล้ว  วุฒิสภาจะนำมาพิจารณากลั่นกรองอีก
ชั้นหนึ่ง  วุฒิสภาเห็นชอบแล้ว  นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ  เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย  เมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
ก็ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับได้
           2. กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร  ได้แก่  กฎหมายดังต่อไปนี้
2.1พระราชกำหนด  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  เพื่อประโยชน์ของประเทศ  หลังจากประกาศใช้พระราชกำหนดแล้ว  คณะรัฐมนตรีจะต้องรับนำพระราชกำหนดนั้นเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณา 
ถ้ารัฐสภาอนุมัติก็จะมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป
 หากรัฐสภาได้

1.5 ศักดิ์ของกฎหมาย
ศักดิ์ของกฎหมาย ( hierachy of law) คือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมาย
          การจัดศักดิ์ของกฎหมายมีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่าง ๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การตีความ และการยกเลิกกฎหมาย เช่น หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าจะมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับกฎหมายสูง กว่านั้นมิได้ และอาจถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
เกณฑ์ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมาย
          เกณฑ์ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมายได้แก่ การพิจารณาจากผู้ตรากฎหมายฉบับนั้น ๆ ซึ่งย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ
          สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยผู้แทนของปวงชนคือรัฐสภา เป็นการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาร่วมกันใช้อำนาจสูงสุดแห่งรัฐในการออก กฎหมาย จึงให้มีศักดิ์สูงสุด ส่วนที่มีศักดิ์รองลงมาได้แก่ พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด ซึ่งได้รับการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรก่อนแล้วจึงผ่านไปยังวุฒิสภา เป็นการแยกกันใช้อำนาจ
ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
          ว่ากันแต่ประเทศไทยในปัจจุบัน มีทั้งกฎหมายลายลักษณ์อักษร กฎหมายจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไป แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ากฎหมายส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในรูปลายลักษณ์อักษร มากที่สุด
ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
          ว่ากันแต่ประเทศไทยในปัจจุบัน มีทั้งกฎหมายลายลักษณ์อักษร กฎหมายจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไป แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ากฎหมายส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในรูปลายลักษณ์อักษร มากที่สุด
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนรับรองและส่งเสริมสิทธิต่าง ๆ ของประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายอื่นทุกฉบับ กฎหมายอื่นจึงจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ มิเช่นนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้เลย
          มักมีผู้เรียก "รัฐธรรมนูญ" ว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" พึงทราบว่า "กฎหมายรัฐธรรมูญ" (: constitutional law) นั้นเป็นคำเรียกสาขาวิชาทางนิติศาสตร์และเรียกกฎหมายมหาชนแขนงหนึ่งซึ่งว่า ด้วยการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง ส่วน "รัฐธรรมนูญ" (: Constitution) นั้นคือกฎหมายจริง ๆ ฉบับหนึ่งซึ่งจัดระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง
          กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายชนิดนี้อยู่ในรูปของพระราชบัญญัติในประเทศไทย และมีศักดิ์เดียวกันกับพระราชบัญญัติแต่มีวิธีการตราที่พิสดารกว่าพระราช บัญญัติเนื่องเพราะเป็นกฎหมายที่อธิบายรายละเอียดต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญ
          พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายชั้นรองลงมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นกฎหมายที่ถือได้ว่าคลอดออกมาจากท้องของรัฐธรรมนูญโดยตรง องค์กรที่มีหน้าที่ตรากฎหมายสองประเภทนี้ได้แก่รัฐสภา
          พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจในการตราให้แก่ฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ใช้ในกรณีรีบด่วนหรือฉุกเฉิน พระราชกำหนดนั้นเมื่อมีการประการใช้แล้วคณะรัฐมนตรีต้องนำเสนอต่อรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ถ้ามิได้รับความเห็นชอบก็เป็นอันสุดสุดลง แต่ผลของการสิ้นสุดลงนี้ไม่กระทบกระเทือนบรรดาการที่ได้กระทำลงระหว่างใช้ พระราชกำหนดนั้น
          พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นหลักการย่อย ๆ ของพระราชบัญญัติหรือของพระราชกำหนด เปรียบเสมือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่อธิบายขยายความใน รัฐธรรมนูญ
          กฎองค์การบัญญัติ เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตราขึ้นและใช้บังคับภายในเขตอำนาจ ของตน ได้แก่ ข้อบังคับตำบล เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา เนื่องจากอำนาจในการตรากฎหมายประเภทนี้ได้รับมาจากพระราชบัญญัติ โดยทั่วไปจึงถือว่ากฎองค์การบัญญัติมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติชั่วแต่ว่า ใช้บังคับภายในเขตใดเขตหนึ่งเป็นการทั่วไปเท่านั้น
          กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารและไม่ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากรัฐสภา มีลักษณะคล้ายพระราชกฤษฎีกาเพราะศักดิ์ของผู้ตราต่างกัน
          รองศาสตราจารย์ทัชชมัย ฤกษะสุต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า "เมื่อ พระราชกฤษฎีกากับกฎกระทรวงมีความใกล้เคียงกันมาก ข้อที่พิจารณาให้เห็นถึงความแตกต่างกันว่าควรจะออกกฎหมายในรูปพระราชกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวงนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เนื้อหาของกฎหมายที่ต้องการบัญญัตินั้นมีความสำคัญเพียงใด ซึ่งหากมีความสำคัญเป็นอย่างมากจะออกมาในรูปของพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้ามีความสำคัญน้อยกว่าก็ออกในรูปของกฎกระทรวง
ผลการจัดศักดิ์ของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
          1. การออกกฎหมายที่มีศักดิ์ของกฎหมายต่ำกว่าจะออกได้โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายที่ มีศักดิ์สูงกว่าหรือตามที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้อำนาจไว้
          2. กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายศักดิ์สูงกว่า จะออกมาโดยมีเนื้อหาเกินกว่าขอบเขตอำนาจที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้ไว้มิได้ มิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้เลย
          3. หากเนื้อหาของกฎหมายมีความขัดแย้งกัน ต้องใช้กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าบังคับ ไม่ว่ากฎหมายศักดิ์สูงกว่านั้นจะออกก่อนหรือหลังกฎหมายศักดิ์ต่ำกว่านั้น




เเบบทดสอบ