วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์





รูปแบบการปกครองของไทยแต่สมัยเดิมมามีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักโดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาเกือบ 500 ปี มิได้การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองขนานใหญ่แต่อย่างใดจนถึงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อันเป็นระยะที่ประเทศไทย ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าแต่ก่อนวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยประกอบกับอิทธิพลในการแสวงหา เมืองขึ้นของชาติตะวันตกที่สำคัญ 2 ชาติ คืออังกฤษและฝรั่งเศสกำลังคุกคามเข้ามาใกล้ประเทศไทยประการสำคัญที่สุดก็คือพระอัจฉริยะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงคาดการณ์สำคัญในอนาคตอย่างถูกต้อง จึงได้ดำเนินรัฐประศาสนโยบายนำประเทศไทยให้พ้นวิกฤตการณ์ จากการคุกคามทางการเมืองมาได้นำประเทศไทยสู่ความก้าวหน้ายุคใหม่อันเป็นสำคัญที่เป็น รากฐานในการปกครองปัจจุบัน
การปฏิรูปการบริหาร (Administrativereform) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2435 นี้นับว่าเป็นการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยและนำความเจริญรุ่งเรืองนานัปมาสู่ประเทศชาติและปวงชาวไทย ดังจะกล่าวถึงมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปการ การปกครองดังกล่าวต่อไป
รูปแบบการปกครองของไทยแต่สมัยเดิมมามีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักโดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตลอดระยะเวลาเกือบ 500 ปี มิได้การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองขนานใหญ่แต่อย่างใดจนถึงรัชสมัย
พระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อันเป็นระยะที่ประเทศไทย ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
วัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยประกอบกับอิทธิพลในการแสวงหา เมืองขึ้นของ
ชาติตะวันตกที่สำคัญ 2 ชาติ คืออังกฤษและฝรั่งเศสกำลังคุกคามเข้ามาใกล้ประเทศไทยประการสำคัญที่สุดก็คือ
พระอัจฉริยะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงคาดการณ์สำคัญในอนาคตอย่างถูกต้อง จึงได้
ดำเนินรัฐประศาสนโยบายนำประเทศไทยให้พ้นวิกฤตการณ์ จากการคุกคามทางการเมืองมาได้นำประเทศไทยสู่
ความก้าวหน้ายุคใหม่อันเป็นสำคัญที่เป็น รากฐานในการปกครองปัจจุบัน

การปฏิรูปการบริหาร (Administrativereform) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี
พ.ศ. 2435 นี้นับว่าเป็นการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยและนำความเจริญรุ่งเรืองนานัป
มาสู่ประเทศชาติและปวงชาวไทย ดังจะกล่าวถึงมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปการ การปกครองดังกล่าว

ลักษณะการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์

การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนถึง
รัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยโดยมีมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิด
การปกครอง คือ

ต่อไป

ลักษณะการปกครองตามธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2475

ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ
ถาวรซึ่งมีหลักการต่างจากฉบับแรกในสาระสำคัญหลายประการ เช่น

1. ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา (Parliamentary
system) ทั้งนี้เพราะว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุข
แห่งรัฐไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหา
กษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดินแต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหาร
ราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนซึ่งมีอำนาจที่จะลงมติให้ความไว้วางใจหรือไม่ให้ความไว้วางใจ
อันเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีต้องออกจากตำแหน่งได้การปกครองตามระบบรัฐสภาควบคุมนี้
รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายของนิติบัญญัติ คือ ออกกฏหมายเท่านั้น แต่ว่ามีอำนาจที่จะควบคุมคณะ
รัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดินด้วย

2. เนื่องจากได้ใช้ระบบรัฐสภาควบคุมการบริการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 จึงได้วาง
หลักให้ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมีอำนาจควบคุมกัน กล่าวคือ ฝ่ายนิติบัญญัติแม้จะมี
อำนาจควบคุมคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารก็ตามแต่คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์
ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจยุบสภาผู้แทนได้เมื่อเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะ
เป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาของตน
ที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่

3.ในส่วนที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้นตามรัฐธรรมนูญนี้ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์
ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ซึ่งหมายความว่าผู้ใดจะฟ้องร้อง
พระมหากษัตริย์ไม่ได้ไม่ว่าด้วยประการใด และพระมหากษัตริย์ไม่ทรงรับผิดชอบทางการ
เมือง แต่ตามพระราชบัญญัติการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวยังให้อำนาจสภาผู้แทนที่จะ
วินิจฉัยได้เมื่อพระมหากษัตริย์มีกรณีที่ถูกฟ้องร้อง โดยได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์จะถูก
ฟ้องคดีอาญายังโรงศาลไม่ได้เป็นหน้าที่ของสภาจะวินิจฉัยแต่ตามรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2475
ทั้งศาล และสภาผู้แทนไม่มีอำนาจวินิจฉัยการกระทำของพระมหากษัตริย์ซึ่งได้รับความคุ้ม
กันที่จะไม่ถูกฟ้องร้องด้วยประการใด ๆ ทั้งสิ้น

4. ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาฯไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนักแต่ส่วนประกอบของ
สภาผู้แทนได้บัญญัติไว้เพียง 2 สมัย คือ

สมัยที่1 นับแต่วันใช้พระราชบัญญัติการปกครองสยามชั่วคราว 2475 สภาประกอบ
ด้วยสมาชิก 2 ประเภทเท่ากันคือ ประเภท1 ราษฎรเลือกตั้ง ประเภทที่ 2 พระมหากษัตริย์
ทรงแต่งตั้งและมิได้ห้ามการตั้งสมาชิกประเภท 2 จากข้าราชการประจำ

สมัยที่2 เมื่อผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกมีการศึกษาจบชั้นประถมศึกษาสามัญ
มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดหรืออย่างช้าไม่เกิน10ปีนับแต่วัยใช้พระราชบัญญัติการ
ปกครองสยามชั่วคราว สภาจะประกอบด้วยสมาชิกประเภทเดียวแต่เรื่องนี้ต่อมาได้มีรัฐ
ธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล พ.ศ. 2485 ได้ขยายเวลาของสมัยที่ 2 นี้
ออกเป็น 20 ปีนับแต่วันใช้พระราชบัญญัติการปกครองสยามชั่วคราว

5. ด้านบริหารให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรีที่ทรงแต่ง
ตั้งคณะรัฐมนตรีจะรับผิดชอบเป็นส่วนรวมต่อสภาฯ และเป็นการเฉพะตัวสำหรับรัฐมนตรี
ซึ่งมีหน้าที่ว่าการกระทรวงแต่ก็มิใช่อยู่ที่สภาแต่งตั่งเหมือนคณะกรรมการราษฎรและมิได้มี
อำนาจถอดถอนได้นอกจากลงมติไม่ไว้วางใจซึ่งเป็นผลทำให้คณะรัฐมนตรีต้องลาออกนอก
จากนี้ยังให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการใช้อำนาจบริหารในนามของพระมหากษัตริย์
และมีอำนาจปกครองประเทศด้วยโดยได้เลิกตำแหน่งเสนาบดีทั้งหมดและตั้งรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงขึ้นแทน

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสมัยรัตนโกสินทร์

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในสมัยแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงอยู่
ในรูปแบบของเศรษฐกิจพอยังชีพ กล่าวคือยังไม่มีการแบ่งงานกันทำแต่ละครอบครัวต้อง
ผลิตของที่จำเป็นทุกอย่างขึ้นมาใช้เอง ที่ดินก็ยังว่างเปล่าอยู่มาก ในขณะที่แรงงานเพื่อ
ประกอบการผลิตยังมีอยู่น้อย เพราะสภาพสังคมขณะนั้นแรงงานคนส่วนใหญ่ต้องอุทิศให้
กับ การเข้าเวรรับราชการและรับใช้มูลนายเวลาที่เหลือเพียงส่วนน้อยจึงเป็นเรื่องของการ
ทำมาหาเลี้ยงชีพและครอบครัว ผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งจึงเป็นไปตามความต้องการของครัว
เรือนและอีกส่วนหนึ่งส่งเป็นส่วยให้กับทางราชการ การค้าภายในประเทศจึงมีน้อยเพราะ
ว่าทรัพยากรมีจำกัด และความต้องการของแต่ละท้องถิ่นไม่แตกต่างกันการคมนาคมไม่
สะดวกจวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 การค้าภายในประเทศจึงเริ่มขยายตัวเพราะชาวจีนเข้า
มามีบทบาททางการค้าโดยทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง นำส่งสินค้าเข้า-ออก ตามท้อง
ถิ่นต่าง ๆ

ในส่วนที่เป็นรายรับ - รายจ่ายของแผ่นดินนั้น กล่าวได้ว่ารายรับไม่สมดุลกับ
รายจ่าย รายจ่ายส่วนใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นไปเพื่อการสร้างและบูรณะ
บ้านเมือง รายจ่ายในการป้องกันประเทศการบำรุงศาสนานอกจากนี้ก็ยังมีรายจ่ายเบี้ย
หวัดข้าราชการและค่าใช้จ่ายภายในราชสำนักรายจ่ายตามประเภทที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
นับว่ามีจำนวนสูง เพราะบ้านเมืองเพิ่งอยู่ในระยะก่อร่างสร้างตัวซ้ำยังมีศึกสงครามอยู่
เกือบตลอดเวลารายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเมื่อเทียบกับรายได้ของแผ่นดินซึ่งยังคงมีที่มา
เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องแสวงหายรายได้ให้
เพิ่มมากขึ้น

รายได้ของรัฐบาลในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จำแนกได้ดังนี้

1. ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่เอามาเสียภาษีแทนแรงงานถ้า ไม่ต้องการชำระ
เป็นเงิน ก็อาจจะทดแทนด้วยผลิตผลที่มีอยู่ในท้องที่ ๆ ไพร่ผู้นั้นอาศัยอยู่เช่นดีบุกดิน
ประสิว นอกจากนี้ส่วยยังเรียกเก็บจากหัวเมืองต่าง ๆ และบรรดาประเทศราช

2. ฤชา คือ การเสียค่าธรรมเนียมที่ประชาชนจ่ายเป็นค่าตอบแทนการบริการ
ของรัฐบาล รัฐบาลจะกำหนดเรียกเก็บเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น ค่าธรรมเนียมโรงศาล
ค่าธรรมเนียมการออกโฉนด หรือค่าธรรมเนียมกรรมสิทธิ์ เป็นต้น

3. อากร คือ เงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการขอผูกขาดสัมปทาน เช่น การจับ
ปลา การเก็บของป่าต้มกลั่นสุรา และตั้งบ่อนการพนัน เป็นต้น ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ
การเรียกเก็บผลประโยชน์ที่ราษฎรทำได้จากการประกอบการต่างๆเช่น ทำนาทำไร่ การ
เก็บอากร ค่านา ในสมัยรัชกาลที่ 2 กำหนดให้ราษฎรเลือกส่งได้ 2 รูปแบบ คือ ส่งเป็น
ผลิตผลหรือตัวเงิน เช่น ถ้าส่งเป็นเงินให้ส่งไร่ละหนึ่งสลึง อากรประเภทอื่นยังมีอีก เช่น
อากรสวน อากรตลาด เป็นต้น

4. ภาษีอากรและจังกอบภาษีอากรหมายถึงการเก็บภาษีจากสินค้าเข้าและสินค้า
ออก ภาษีเข้ามีอัตราการเก็บที่ไม่แน่นอนประเทศใดที่มีสัมพันธไมตรีดีต่อไทยก็จะเก็บ
ภาษีน้อยกว่าเรือของประเทศที่ไปมาค้าขายเป็นครั้งคราวหาก แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2
อัตราที่กำหนดให้เก็บคือร้อยละ8โดยตลอดส่วนชาวจีนนั้นให้คิดอัตราร้อยละ 4 ส่วน
ภาษีสินค้าออกเก็บในอัตราที่แตกต่างไปตามชนิดของสินค้า

จังกอบ คือค่าผ่านด่านซึ่งเรียกเก็บจากสินค้าและขนาดของพาหนะที่บรรทุก
ด่านที่เก็บจังกอบเรียกว่าขนอนหรือด่านภาษีการเก็บจังกอบมี 2 ประเภทคือประเภท
แรกเป็นการเก็บค่าผ่านด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำ เรียกเก็บจากสินค้าค้าของ
ราษฏรโดยชักสินค้านั้นเป็นส่วนลดอีกประเภทหนึ่งคือ เก็บตามอัตราขนาดของยาน
พาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน โดยจะวัดตามความกว้างของปากเรือ เรียกว่า"ค่าปากเรือ"

ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้แม้เศรษฐกิจหลักของสังคมจะเป็นไปแบบเดิมคือ การ
เกษตรกรรม โดยอาศัยธรรมชาติ แต่ทางราชการก็พยายามสนับสนุนช่วยเหลือใน
การชลประทานการค้ากับต่างประเทศก็ดำเนินเป็นล่ำเป็นสันขึ้นกว่าในสมัยก่อน
เพราะไทยมีสินค้าออกคือ ผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศ
ทางตะวันตก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น